การรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance : PM)

   บริการซ่อมบำรุงเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) หรือเรียกว่าการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintemamce) : PM คือการตรวจสภาพ Air Compressor และซ่อมแทรมส่วนที่ผิดปกติ ดูแลบำรุงรักษาปั๊มลมโรงงานให้ยังคงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 
 
    การตรวจเช็คปั๊มลมอุตสาหกรรมต้องทำอะไรบ้าง? : หลักๆ คือตรวจค่าการแสดงผลต่างๆ อุณภูมิ Air End สูงหรืออยู่ในเกณฑ์ปกติ (หากอุณหภูมิมากว่า 98 oC ถือว่าเครื่องร้อนต้องตรวจเช็ค) ตรวจเช็คกระแสไฟ ตรวจเช็คค่า Load-Unload เช็คชัวโมง Run ของเครื่อง อุณภูมิลมเข้า และออก ที่สำคัญคือต้องคำนวณชั่วโมงการใช้งานของอะไหล่ปั๊มลม (Spare Part) ต่างๆ ว่าครบกำหนดหรือไม่ อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานปกติหรือมีความผิดปกติอย่างไรบ้าง เป็นต้น
 
     บริษัท แอร์ เพาเวอร์ ซิสเท็ม จำกัด มีบริการตรวจเช็ค ซ่อมแซม เครื่องปั๊มลมอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร มีการบันทึกประวัติเครื่องอย่างละเอียด ในกรณีที่ปั๊มลมไม่มีการแสดงชั่วโมงการใช้งานอะไหล่ เราจะคำนวณให้ลูกค้า ประมาณการณ์ช่วงเวลาที่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ในครั้งถัดไป มีบริการยกเครื่องกลับมา Overhaul 
 
    นอกจากนี้ยังมีบริการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) อีกด้วย หากลูกค้ามีการซื้อปั๊มลมโรงงาน และเครื่องทำลมแห้งจากบริษัทเรา จะมีบริการ Regular Visit : RV คือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันฟรี ตามกำหนดระยะเวลาอีกด้วย 
 

เลือกซื้อ Air Compressor คลิ๊ก

เลือกซื้อ Air Dryer คลิ๊ก

ปลี่ยนอะไหล่ปั๊มลม (air compressor)

          การเปลี่ยนอะไหล่ปั๊มลม (Air Compressor) ตามเวลาที่กำหนด ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้ปั๊มลมร้อน จนทำให้เกิดปัญหาเครื่องตัดดับได้ 
         จากกรณีศึกษาของปัญหาเครื่องปั๊มลม (Air Compressor) ตัดดับนี้ ตามที่บริษัท แอร์ เพาเวอร์ ซิสเท็ม จำกัด เคยให้บริการดูแลซ่อมแซมลูกค้าหลายราย เมื่อตรวจประวัติเครื่องที่บันทึกไว้ พบว่าส่วนหนึ่งมาจากการใช้อะไหล่ (Spare Part) เกินชั่วโมงการใช้งานที่กำหนด ดังนั้น บริษัท แอร์ เพาเวอร์ ซิสเท็ม จำกัด จึงมีบริการเปลี่ยนอะไหล่ปั๊มลม (Air Compressor) ตามกำหนดให้กับลูกค้าของเรา ดังนี้
  • เปลี่ยน ชุดกรองลม (Air Filter) Air Compressor
  • เปลี่ยน ไส้กรองน้ำมัน (Oil Filter) Air Compressor
  • เปลี่ยน อุปกรณ์แยกน้ำมัน (Separator) Air Compressor
  • เปลี่ยน น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant) Air Compressor
  • เปลี่ยน Service kit 8000 Hour Air Compressor
  • เปลี่ยน Coupling / Belt Air Compressor

สอบถามเพิ่มเติม

บำรุงรักษาเชิงป้องกัน เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) / Heatless 
         เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) และ Heatless มีหน้าที่ลดปริมาณน้ำและความชื้นที่ปะปนมากับอากาศอัด ให้ความชื้นในอากาศอัด อยู่ในระดับมาตรฐานตามกำหนดของโรงงานอุตสากรรมแต่ละประเภท ทำให้ลมมีคุณภาพ  ลดปัญหาความชื้นในอากาศอัดหลุดเข้าไปสร้างความเสียหายกับเครื่องจักร และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น การเกิดสนิมในท่ออากาศ และเครื่องจักร 
            บริษัท แอร์ เพาเวอร์ ซิสเท็ม จำกัด มีบริการดูแลบำรุงรักษาเครื่อง Air Dryer และ Heatless ให้กับลูกค้าของเรา ดังนี้
           
    Air Dryer:
  • ล้าง / เป่าฝุ่น Cooler ป้องกัน Cooler ตัน เครื่องร้อนส่งผลกับกระบวนการกลั่นตัวของความชื้นในอากาศให้มีประสิทธิภาพลดลง เปลืองพลังงานมากขึ้น
  • เติม Refrigerant น้ำยาทำความเย็น ลดความชื้นของอากาศอัด
            Heatless:
  • เปลี่ยนเม็ดสารดูดความชื้น เพื่อให้กักเก็บน้ำ และความชื้นไม่ให้หลุดปะปนออกไป อากาศจะสะอาดปราศจากความชื้น 
            ปิดงานด้วยการตรวจเช็คค่าต่างๆ ให้อยู่ในระดับปกติ           
 
 

รับซ่อมปั๊มลมโรงงาน (Air compressor) Overhaul Motor และ Air End

     บริการ Overhaul เครื่องอัดอากาศ ทำอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับ 2 กรณี ดังนี้

1.Ovehaul ในกรณีที่ครบชั่วโมงการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน PM (Preventive Maintenance)

     Motor:

  • เปลี่ยนแบริ่ง (ฺBearing)
  • ทำการบาลานซ์ โรเตอร์ (Balance Rotor) ให้การหมุนเสถียร
  • ราดน้ำยาเคลือบฉนวน
  • ทาสี Housing ภายนอก
  • พ่นสีกันสนิมที่ สเตเตอร์ (Stator)
  • บริการอื่นๆ เพิ่มเติมตามอาการ

     Air End

  • เปลี่ยนแบริ่ง (Bearing)
  • ตรวจสอบความเสียหายลูกสกรู (Screw)
  • ทำความสะอาด Housing , เพลา
  • ทาสี Housing
  • เติมน้ำมัน 
  • บริการอื่นๆ เพิ่มเติมตามอาการ 

2.Ovehaul ในกรณี Motor ไหม้ น้ำมันใน Air End เป็นวานิช

     Motor :

  • รีไวน์ลวดฉนวน คือ เปลี่ยนลวดฉนวน และจัดเรียงใหม่ทั้งหมด 
  • ขั้นตอนอื่นๆ แบบเดียวกับกรณีที่ 1

     Air-End :

  • ตรวจสอบ ซ่อมแซมส่วนอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดวานิช
  • ซ่อมแซมลูกสกรูหรือเปลี่ยนใหม่ แล้วแต่กรณี
  • ขั้นตอนอื่นๆ แบบเดียวกับกรณีที่ 1

ทำไมต้อง Overhaul Motor และ Air End เครื่องปั๊มลม (Air Compressor) :

     สำหรับปั๊มลมสกรู (Screw Air Compreesor) Motor และ ลูกสกรู (Screw) เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการทำงานของเครื่องอัดอากาศ หาก Motor ถูกใช้ในระยะเวลายาวนานโดยไม่ได้บำรุงรักษา เครื่องอุณหภูมิสูง อาจจะทำให้ Motor ไหม้ อาจร้ายแรงถึงขั้นระเบิดได้
     ส่วนลูกสกรูนั้น หากน้ำมันด้านในข้นเหนียว (เป็นวานิช) จะรบกวนการหมุนของสกรู และหากมีเศษสนิมหรืออนุภาคอื่นๆ ปะปนอยู่จนหลุดเข้าไปใน Air End จะทำให้มีรอยครูดที่สกรู หากปล่อยไว้ไม่บำรุงรักษาสม่ำเสมออาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เช่น เครื่องตัดดับ สกรูสึกหรอใช้งานไม่ได้ เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติม    

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้